News
ไมเกรน (Migraine) และการนอนหลับมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งการนอนหลับไม่เพียงพอหรือมีคุณภาพไม่ดีสามารถกระตุ้นหรือทำให้ไมเกรนแย่ลงได้ นอกจากนี้ ความผิดปกติของการนอนยังพบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการไมเกรนอีกด้วย
27 ก.ย. 2024
นอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นโรคความผิดปกติในการนอน เป็นภาวะนอนหลับยาก หลับไม่สนิท หรือหลับๆ ตื่นๆ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของคนวัยทำงาน และผู้สูงอายุ หากปล่อยไว้นานๆ จนเรื้อรังจะส่งผลเสียต่ออารมณ์ ความจำ การตื่นตัว ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา โดยสาเหตุของการนอนไม่หลับนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อาหารที่เราทาน รูปแบบการใช้ชีวิต โรคต่างๆ การใช้ยาบางชนิด ความเครียด ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายนอกที่เข้ามารบกวน ซึ่งโดยปกติแล้วในแต่ละวันเราควรนอนหลับเป็นเวลาเฉลี่ย 7-9 ชั่วโมง
27 ก.ย. 2024
อดนอน (Sleep Deprivation) เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพของผู้คนในปัจจุบัน ทั้งการทำงานตอนกลางวันและกลางคืน เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย หรือบางส่วนที่มีความจำเป็นต้องทำงานกะดึก ไม่สามารถพักผ่อนในช่วงค่ำมืดได้ อีกกลุ่มบุคคลมักจะใช้เวลาที่เหมาะสมกับการนอนหลับไปกับการเสพติดโซเชียลมีเดียหรือสื่อบันเทิง กีฬา เกมต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือเทคโนโลยีในการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บแล็ต ท่านใดที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการนอนหลับ
27 ก.ย. 2024
การนอนสะดุ้งหรือการสะดุ้งตื่นกลางดึก เป็นอาการที่พบได้บ่อยและอาจเกิดจากหลายสาเหตุ ตั้งแต่ปัจจัยทางกายภาพ จิตใจ ไปจนถึงปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม การนอนสะดุ้งอาจทำให้การนอนหลับไม่ต่อเนื่อง ส่งผลต่อคุณภาพการนอนและสุขภาพโดยรวมได้
25 ก.ย. 2024
โรคอ้วนเป็นภาวะที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในหลายด้าน และหนึ่งในปัญหาที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนคือการนอนหลับที่มีคุณภาพต่ำหรือมีความผิดปกติ การมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหาการนอนหลับหลายประการ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมและคุณภาพชีวิต
25 ก.ย. 2024
การนอนหลับเป็นช่วงเวลาที่ทำให้ร่างกายได้พักผ่อนเพื่อเติมพลังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในเช้าวันใหม่ได้อย่างเต็มที่ หากพักผ่อนไม่เพียงพอจะทำให้ความสามารถในการคิด ความจำ และสมาธิแย่ลง และอาจเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ อย่างโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพต้องคำนึงถึง 2 ปัจจัย ได้แก่ ระยะเวลาในการนอนหลับ โดยผู้ใหญ่ควรนอนหลับให้ได้วันละประมาณ 79 ชั่วโมง และคุณภาพในการนอนหลับ ซึ่งการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพอาจทำให้นอนหลับไม่สนิท ตื่นกลางดึก รู้สึกง่วงและอ่อนเพลียหลังตื่นนอนแม้จะนอนหลับนานพอ หากสงสัยว่าการนอนหลับให้ดีต่อสุขภาพทำได้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบให้คุณ
14 ส.ค. 2024
อาการนอนไม่หลับกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคือปัจจัยที่ส่งผลถึงกัน ทำให้อาการของโรคมีความรุนแรงขึ้น การรักษาเป็นไปได้ยากขึ้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับหรือหลับไม่เต็มอิ่มจะทำให้ผู้ป่วยง่วงระหว่างวันและส่งผลโดยตรงกับอารมณ์และความคิด การได้รับยาตามแพทย์สั่งสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหลับได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายก็หลับได้ไม่ลึกพอที่ร่างกายและสมองจะได้รับการผ่อนคลาย ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยควรใส่ใจกับสุขภาพการนอนของผู้ป่วยอย่างการเลือกใช้ที่นอนที่เหมาะสมกับการนอน เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้ป่วยหลับได้สบายขึ้น นอกจากนี้เรายังมีวิธีที่น่าสนใจที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลับได้ลึกขึ้นไปดูกัน
12 ส.ค. 2024
การนอนหลับที่ดีจะทำให้ร่างกายเราได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และมีพลังพร้อมที่จะทำกิจกรรมในวันต่อไป คนเราใช้เวลาหนึ่งในสามของวันไปกับการนอน รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมบางอย่างระหว่างวัน โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนนอนอาจส่งผลต่อสุขภาพการนอนของเราได้ ถ้าคุณมีปัญหานอนไม่หลับ การปรับกิจวัตรประจำวันเพียงเล็กน้อย เช่น การดื่มหรือการรับประทานอาหาร กิจกรรมที่ทำในช่วงเย็น การปรับตารางเวลา จะทำให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น หลับต่อเนื่องมากขึ้น และมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น 10 เคล็ดลับ ที่ไม่ลับเพื่อส่งเสริมการนอนหลับที่ดี(SLEEP HYGIENE) ควรปฏิบัติอย่างไร
23 มิ.ย. 2024