แชร์

โรคซึมเศร้า กับการนอนไม่หลับ ปัญหาที่คนรอบข้างควรใส่ใจ

อัพเดทล่าสุด: 12 ส.ค. 2024
137 ผู้เข้าชม

อาการนอนไม่หลับกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคือปัจจัยที่ส่งผลถึงกัน ทำให้อาการของโรคมีความรุนแรงขึ้น การรักษาเป็นไปได้ยากขึ้น เมื่อผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับหรือหลับไม่เต็มอิ่มจะทำให้ผู้ป่วยง่วงระหว่างวันและส่งผลโดยตรงกับอารมณ์และความคิด การได้รับยาตามแพทย์สั่งสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหลับได้ แต่ในผู้ป่วยบางรายก็หลับได้ไม่ลึกพอที่ร่างกายและสมองจะได้รับการผ่อนคลาย ดังนั้นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยควรใส่ใจกับสุขภาพการนอนของผู้ป่วยอย่างการเลือกใช้ที่นอนที่เหมาะสมกับการนอน เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้ป่วยหลับได้สบายขึ้น นอกจากนี้เรายังมีวิธีที่น่าสนใจที่จะช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลับได้ลึกขึ้นไปดูกัน

เราจะรับมือกันอย่างไร? เมื่อผู้ป่วยโรคซึมเศร้านอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นส่งผลกระทบต่อสมองของผู้ป่วยโดยตรง และในทางกลับกันโรคซึมเศร้าก็คือสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ เมื่อโรคและอาการของโรคเกี่ยวข้องกันแบบนี้ผู้ใกล้ชิดต้องดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยให้สามารถนอนหลับได้สนิท ซึ่งแนวทางสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีอาการนอนไม่หลับมีดังต่อไปนี้

1. จัดห้องนอนใหม่

ผู้ใกล้ชิดควรช่วยผู้ป่วยจัดห้องนอนให้อยู่สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการพักผ่อน เช่น อุณหภูมิของห้องควรมีความพอดี มีความสงบ เมื่อปิดไฟควรจะมืดสนิทและควรเปลี่ยนมาใช้ที่นอนเเหมาะสมกับการนอน เพื่อรองรับแผ่นหลังและสรีสะของผู้ป่วย ควรเป็นที่นอนลดแรงสั่นสะเทือนได้ส่งผลช่วยให้ผู้ป่วยหลับได้ง่ายขึ้น


2. งดเสียงรบกวน

เมื่อทราบว่ามีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่ในครอบครัวและมีสภาวะหลับยาก คนในครอบครัวควรให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยด้วยการลดการส่งเสียงดังยามผู้ป่วยพักผ่อน เพราะผู้ป่วยเหล่านี้จะมีอาการที่หลับไม่สนิท หรือมีอาการตื่นได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไป การที่เราให้ความร่วมมือ เมื่อมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาศัยอยู่ด้วยการลดเสียงรบกวนจะทำใให้ผู้ป่วยได้นอนหลับพักผ่อนได้สนิทมากขึ้น

3. เข้านอนเป็นเวลา

เพื่อปรับให้นาฬิกาชีวิตของผู้ป่วยมีความสมดุลมากขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์และความคิดของผู้ป่วย ผู้ใกล้ชิดควรดูแลให้ผู้ป่วยเข้านอนเป็นเวลา และควรใช้หมอนที่เหมาะสมกับสรีระ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวและหลับลึก เมื่อตื่นนอนตอนเช้าผู้ป่วยจะมีอารมณ์ที่แจ่มใสขึ้น ไม่รู้สึกป่วยเหมื่อย

4. ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายช่วยให้อาการซึมเศร้าของผู้ป่วยดีขึ้นได้ อีกทั้งยังช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายตัวและหลับง่ายมากยิ่งขึ้น หากผู้ป่วยมีอาการปวดกล้ามเนื้อเนื่องจากการออกกำลังกาย ให้หาหมอนรองขาหรือเบาะรองขา ดีไซน์รูปครึ่งวงกลมมารองขาเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ไม่ก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยยามหลับ การเลือกที่นอนและหมอนจึงสำคัญต่อการนอนหลับ เพราะฉะนั้นเรามาเลือกที่นอนให้เหมาะสมกับการนอนของเรากันนะครับ


บทความที่เกี่ยวข้อง
ไมเกรนกับการนอนหลับ เรื่องที่เราควรใสใจ
ไมเกรน (Migraine) และการนอนหลับมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งการนอนหลับไม่เพียงพอหรือมีคุณภาพไม่ดีสามารถกระตุ้นหรือทำให้ไมเกรนแย่ลงได้ นอกจากนี้ ความผิดปกติของการนอนยังพบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการไมเกรนอีกด้วย
27 ก.ย. 2024
โรคนอนไม่หลับ
นอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นโรคความผิดปกติในการนอน เป็นภาวะนอนหลับยาก หลับไม่สนิท หรือหลับๆ ตื่นๆ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของคนวัยทำงาน และผู้สูงอายุ หากปล่อยไว้นานๆ จนเรื้อรังจะส่งผลเสียต่ออารมณ์ ความจำ การตื่นตัว ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา โดยสาเหตุของการนอนไม่หลับนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อาหารที่เราทาน รูปแบบการใช้ชีวิต โรคต่างๆ การใช้ยาบางชนิด ความเครียด ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายนอกที่เข้ามารบกวน ซึ่งโดยปกติแล้วในแต่ละวันเราควรนอนหลับเป็นเวลาเฉลี่ย 7-9 ชั่วโมง
27 ก.ย. 2024
10 เคล็ดลับ เพื่อการนอนหลับที่ดี(SLEEP HYGIENE)
การนอนหลับที่ดีจะทำให้ร่างกายเราได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และมีพลังพร้อมที่จะทำกิจกรรมในวันต่อไป คนเราใช้เวลาหนึ่งในสามของวันไปกับการนอน รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมบางอย่างระหว่างวัน โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนนอนอาจส่งผลต่อสุขภาพการนอนของเราได้ ถ้าคุณมีปัญหานอนไม่หลับ การปรับกิจวัตรประจำวันเพียงเล็กน้อย เช่น การดื่มหรือการรับประทานอาหาร กิจกรรมที่ทำในช่วงเย็น การปรับตารางเวลา จะทำให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น หลับต่อเนื่องมากขึ้น และมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น 10 เคล็ดลับ ที่ไม่ลับเพื่อส่งเสริมการนอนหลับที่ดี(SLEEP HYGIENE) ควรปฏิบัติอย่างไร
27 ก.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy