แชร์

การอดนอนอันตรายแค่ไหน?

อัพเดทล่าสุด: 27 ก.ย. 2024
125 ผู้เข้าชม

อดนอน (Sleep Deprivation) เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่บั่นทอนสุขภาพของผู้คนในปัจจุบัน ทั้งการทำงานตอนกลางวันและกลางคืน เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย หรือบางส่วนที่มีความจำเป็นต้องทำงานกะดึก ไม่สามารถพักผ่อนในช่วงค่ำมืดได้ อีกกลุ่มบุคคลมักจะใช้เวลาที่เหมาะสมกับการนอนหลับไปกับการเสพติดโซเชียลมีเดียหรือสื่อบันเทิง กีฬา เกมต่าง ๆ ผ่านเครื่องมือเทคโนโลยีในการสื่อสารไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์สมาร์ทโฟน แท็บแล็ต ท่านใดที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการนอนหลับ ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจหลายด้าน

ผลกระทบต่อร่างกาย


1. ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ : ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่าง ๆ

2. ความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง : เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง

3. ฮอร์โมนและการเผาผลาญอาหาร : การอดนอนมีผลต่อฮอร์โมนที่ควบคุมความหิวและความอิ่ม ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น

4. สมรรถภาพทางกาย : การทำงานของกล้ามเนื้อและความทนทานลดลง

 

ผลกระทบต่อจิตใจ

1. สมาธิและการจดจำลดลง : ความสามารถในการจดจ่อและเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ลดลง

2. อารมณ์ไม่คงที่ : ทำให้มีความเครียด ความกังวล และอาจเกิดภาวะซึมเศร้า

3. การตัดสินใจแย่ลง : ส่งผลต่อการวิเคราะห์ข้อมูลและการตัดสินใจได้ไม่ดีเท่าที่ควร

 

การนอนหลับที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยฟื้นฟูร่างกายและจิตใจ ควรนอนหลับประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อคืนสำหรับผู้ใหญ่


บทความที่เกี่ยวข้อง
ไมเกรนกับการนอนหลับ เรื่องที่เราควรใสใจ
ไมเกรน (Migraine) และการนอนหลับมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ซึ่งการนอนหลับไม่เพียงพอหรือมีคุณภาพไม่ดีสามารถกระตุ้นหรือทำให้ไมเกรนแย่ลงได้ นอกจากนี้ ความผิดปกติของการนอนยังพบได้บ่อยในผู้ที่มีอาการไมเกรนอีกด้วย
27 ก.ย. 2024
โรคนอนไม่หลับ
นอนไม่หลับ (Insomnia) เป็นโรคความผิดปกติในการนอน เป็นภาวะนอนหลับยาก หลับไม่สนิท หรือหลับๆ ตื่นๆ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของคนวัยทำงาน และผู้สูงอายุ หากปล่อยไว้นานๆ จนเรื้อรังจะส่งผลเสียต่ออารมณ์ ความจำ การตื่นตัว ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา โดยสาเหตุของการนอนไม่หลับนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อาหารที่เราทาน รูปแบบการใช้ชีวิต โรคต่างๆ การใช้ยาบางชนิด ความเครียด ตลอดจนสภาพแวดล้อมภายนอกที่เข้ามารบกวน ซึ่งโดยปกติแล้วในแต่ละวันเราควรนอนหลับเป็นเวลาเฉลี่ย 7-9 ชั่วโมง
27 ก.ย. 2024
10 เคล็ดลับ เพื่อการนอนหลับที่ดี(SLEEP HYGIENE)
การนอนหลับที่ดีจะทำให้ร่างกายเราได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และมีพลังพร้อมที่จะทำกิจกรรมในวันต่อไป คนเราใช้เวลาหนึ่งในสามของวันไปกับการนอน รู้หรือไม่ว่าพฤติกรรมบางอย่างระหว่างวัน โดยเฉพาะช่วงเวลาก่อนนอนอาจส่งผลต่อสุขภาพการนอนของเราได้ ถ้าคุณมีปัญหานอนไม่หลับ การปรับกิจวัตรประจำวันเพียงเล็กน้อย เช่น การดื่มหรือการรับประทานอาหาร กิจกรรมที่ทำในช่วงเย็น การปรับตารางเวลา จะทำให้เรานอนหลับได้ง่ายขึ้น หลับต่อเนื่องมากขึ้น และมีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้น 10 เคล็ดลับ ที่ไม่ลับเพื่อส่งเสริมการนอนหลับที่ดี(SLEEP HYGIENE) ควรปฏิบัติอย่างไร
27 ก.ย. 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy